6 อย่างที่คนเป็นนักเขียนควรรู้
ภาพจากงานสัปดาห์หนังสือปี 2566
ผมไปงานสัปดาห์หนังสือ 2 รอบ ได้คุยกับเจ้าหน้าที่ระดับสูงของ se-ed และ ร้านนายอินทร์ ได้ข้อมูลว่ายอดขายของสำนักพิมพ์ ส่วนใหญ่เมื่อผ่าน 3 ไตรมาสดีกว่ายอดขายของปี 2019 ก่อนโควิด แบบ 3 ไตรมาสไปแล้วเป็นไปได้ว่าขาลงของวงการหนังสือที่ตลาดใหญ่ราว 13,600 ล้านบาทในปี 2565 น่าจะสิ้นสุดลงและกลับมาดีชึ้นอีกครั้งน่าดีใจก็จริงแต่ก็มี 6 อย่างที่คนเป็นนักเขียนควรรู้
1. หนังสือ How to ยังคงขายดีเช่นเคย
แนวทางการใช้ชีวิตให้มีความสุข ดูจะมาแรงกว่า productive
2. แนวที่มาแรงแซงโค้งมากกว่าหลายหมวด คือ “แนวสืบสวน สอบสวน”
วรรณกรรมที่อ่านแล้วตื่นเต้น
3. หนังสือต้องเป็นมากกว่าหนังสือ
ต้องสามารถเป็นของสะสมวางประดับบ้าน ถือไปไหนมาไหนได้ เสมือนเครื่องแสดงออกถึงตัวตนผู้อ่าน
4. ปกสวยชื่อโดนสำคัญมาก
ท่ามกลางหนังสือ100,000 ปกในงาน ลูกค้าไม่สามารถหยิบดูได้ทุกเล่ม ปกและชื่อจึงเป็นพื่นที่โฆษณาที่สำคัญ
5. สำนักพิมพ์มีผลมาก
สำนักพิมพ์ที่ได้รับการยอมรับแบรนด์ดี หนังสือก็จะถูก ร้านหนังสือบูธต่าง ๆ โปรโมท
6. Online สู่ Offline
นักเขียนท่านไหนทำงานแต่กับต้นฉบับ มักคนรู้จักน้อย เวลามางานก็จะมีคนมาขอลายเซ็นไม่มาก
แต่นักเขียนที่มีพื้นที่ในโลก Social จะมีคนติดตามมายังโลกจริงด้วย นักเขียนรุ่นใหม่จึงไม่ควร
ทำงานเงียบ ๆ อีกต่อไป
ตลาดจะอยู่ได้ถ้าทุกคนช่วยกัน ผมเพิ่งไปญี่ปุ่นมาเมื่อเทียบกับเมื่อ 10 กว่าปีก่อน สมัยทำงานที่นั่นก็พบว่า แม้คนจะอ่านหนังสือบนรถไฟน้อยลง แต่วัฒนธรรมการอ่านยังแข็งแรงอยู่มากทั้ง Fiction และ Non Fiction จัดเป็น Softpower ที่แข็งแรง ขยับเขยื้อนเศรษฐกิจเขาได้ ช่วยหารายได้เข้าประเทศผมอยากเห็นประเทศไทย นักเขียนไทยไม่ใช่แค่หลักสิบแต่หลักร้อยหรือพันทำอย่างนั้นได้บ้าง(ก่อนปี 2030) นักอ่าน นักเขียน สำนักพิมพ์ร้านค้าจนถึงภาครัฐ มีส่วนมากต่อการสร้างสังคมการอ่านที่แข็งแรง มาช่วยกันครับ