• หน้าหลัก
  • บริการของเรา
    • In-house and Virtual Training
    • Keynote Speaker
    • Course Online
  • สรุปเรื่องน่ารู้
    • บทความ
    • การเงิน
    • Podcast
    • เขียนได้ขายดี
  • เกี่ยวกับเรา
  • แจ้งชำระเงิน
  • ติดต่อสอบถาม
senseipae
  • หน้าหลัก
  • บริการของเรา
    • In-house and Virtual Training
    • Keynote Speaker
    • Course Online
  • สรุปเรื่องน่ารู้
    • บทความ
    • การเงิน
    • Podcast
    • เขียนได้ขายดี
  • เกี่ยวกับเรา
  • แจ้งชำระเงิน
  • ติดต่อสอบถาม

เขียนได้ขายดี

Home » วิธีคิดของนักเขียน Best Seller ระดับโลก

วิธีคิดของนักเขียน Best Seller ระดับโลก

  • Posted by วิฑูรย์ สูงกิจบูลย์ (เซนเซแป๊ะ)
  • Categories เขียนได้ขายดี
  • Date 1 พฤษภาคม 2023
  • Comments 0 comment


“ก่อนเริ่มเขียนมักเป็นช่วงเวลาที่น่ากลัวที่สุด แต่หลังจากนั้นมันมีแต่จะดีขึ้น”

-Stephen King: The King of Horror

ไม่ใช่เรื่องง่ายที่ใครสักคนจะเขียนนิยายสยองขวัญนับตั้งแต่ปี 1974 จนถึงปัจจุบันได้มากกว่า 65 เรื่อง มียอดขายรวมมากกว่า 300 ล้านเล่ม จนได้รับการยกย่องว่าคือ The King of Horror หรือ ราชาแห่งความสยองขวัญ

ที่มา : wikipedia

Stephen King เจ้าของหนังสือ The Green Mile (1996) The Shining (1977) ได้แชร์วิธีคิดที่ทำให้เขาเขียนหนังสือที่หนาเกิน 300 หน้าได้ต่อเนื่องกว่า 30 ปี ผ่านบทสัมภาษณ์และหนังสือของเขาเองไว้มากมาย ผมสรุปมา 10 ข้อ พร้อมขยายความให้ได้เรียนรู้ในบางข้อกันครับ

1. ทุกการกระทำมีเสียงวิจารณ์เสมอ / There will always be critics.

“ถ้าคุณเขียน (หรือวาดรูป เต้น แกะสลัก) จะมีใครสักคนพยายามทำให้คุณรู้สึกแย่เสมอ”

ขยายความ : ไม่ว่าจะทำอะไร จะมีเสียงวิจารณ์เสมอ อย่าสนใจกับคำวิจารณ์ที่ไม่เป็นประโยชน์ เขียนต่อไป

2. “การหยุดเขียนเพียงเพราะมันยาก อารมณ์ในขณะเขียนไม่ได้ หรือคิดว่ามันเป็นไอเดียที่ไม่ดี เดินหน้าต่อไปเมื่อคุณรู้สึกไม่อยากทำ”

3. จัดโต๊ะให้ติดมุม / Put your desk in the corner.

การใช้ชีวิตไม่ใช่ระบบสนับสนุนงานศิลปะ (งานเขียน) มันตรงกันข้าม จัดโต๊ะทำงานของคุณไว้ที่มุม

ขยายความ : การรักษาระดับพลังสมาธิและจดจ่อกับงานเขียนโดยไม่ว่อกแว่กช่วยทำให้เขียนได้ตามเป้าหมายและมีคุณภาพ

4. อย่าใช้ศัพท์ที่สวยหรู (มากเกินไป) / Don’t dress up your vocabulary.

วางคำศัพท์ของคุณไว้บนชั้นบนสุดของกล่องเครื่องมือ* และอย่าพยายามปรับปรุงมันโดยตั้งใจ (เกินไป) สิ่งหนึ่งที่แย่จริง ๆ ที่คุณสามารถทำได้กับงานเขียนของคุณคือการแต่งคำศัพท์ มองหาคำศัพท์ยาว ๆ เพราะคุณอาจรู้สึกละอายใจกับคำศัพท์สั้น ๆ ของคุณ

ขยายความ : * Stephen King เปรียบเปรยเอาไว้ในหนังสือ On Writing ของเขาว่าอาชีพนักเขียนคล้ายกับช่างที่มีกล่องเครื่องมือ เครื่องมือแต่ละประเภทก็จะถูกจัดอยู่แต่ละชั้นของมัน ในกรณีของนักเขียน คำศัพท์และไวยากรณ์จะอยู่ชั้นบนสุด ชั้นกลางเป็นสไตล์การเขียน และชั้นล่างสุดจะเป็นพื้นฐานการเขียน (ไว้มีโอกาส มาขยายความเรื่องนี้กันอีกสักบทความนะครับ)

5. โฟกัสที่ย่อหน้า / Focus on paragraphs.

ย่อหน้าเป็นพื้นฐานของการเขียน ไม่ใช่ประโยค

ขยายความ : เท่าที่ผมพยายามไปแกะนักเขียน Best seller หลายท่าน ทุกคนพยายามทำให้

1. ในทุกย่อหน้ามีสิ่งที่ผู้อ่านจะได้เพิ่ม

2. เชื่อมรอยต่อระหว่างย่อหน้าและทำให้คนอยากอ่านย่อหน้าถัดไป ดังนั้นจงให้ความสำคัญกับย่อหน้าทุกย่อหน้าที่เขียน

6. อ่านให้มาก / Read a lot.
“ถ้าอยากเป็นนักเขียน 2 อย่างเหนือสิ่งอื่นใด คือ อ่านให้มากและเขียนให้มาก ไม่มีทางหลีกเลี่ยง ไม่มีทางลัด ถ้าไม่มีเวลาอ่าน คุณก็ไม่มีเวลา (หรือเครื่องมือ) ในการเขียน ง่าย ๆ แบบนั้น”

7. เขียนต้นฉบับแรกให้เร็ว / Write (the first draft) quickly.

ร่างแรกของหนังสือ—แม้จะเป็นร่างยาว—ก็ไม่ควรเกินสามเดือน

หมายเหตุ : ส่วนตัวผมก็เห็นด้วยกับ Stephen King มาก ๆ เพราะแรงจูงใจ ความสนุกและความตื่นเต้นในการเขียนต้นฉบับมักแปรผกผันกับระยะเวลา ถ้าเขียน ๆ หยุด ๆ หรือใช้เวลานานเกินไป จากประสบการณ์ตรงของผมเอง จะรู้สึกหมดแรง ไม่กระตือรือร้นที่จะเขียน ทั้งนี้ King ไม่ได้หมายความว่าใน Draft ถัดไปที่ตรวจทานจะต้องเร็วหรือช้า และไม่จำเป็นที่นักเขียนทุกคนจะต้องเป็นเหมือน King หรือรู้สึกเหมือนผม เราทุกคนมีจริตต่างกัน มองหาแนวทางที่ใช่สำหรับตัวเอง

8. ให้ความสำคัญกับสถานที่ (เขียน) / Where you write matters.
สิ่งที่สนับสนุนการผลิตงานเขียนได้ดีเยี่ยมคือการได้ทำในบรรยากาศสงบ

หมายเหตุ : แม้ผมเองก็ชอบการนั่งคิดและเขียนในห้องเงียบ ๆ คนเดียวเหมือน King แต่ก็มองว่าบางคนจะทำงานได้ลื่นไหลเมื่ออยู่ในบรรยากาศที่มีการเคลื่อนไหวบ้างอย่างร้านกาแฟ ไม่มีใครรู้ดีไปกว่าตัวคุณ ลองพาตัวเองไปทดลองเขียนในหลากหลายที่ หาสถานที่และรูปแบบในฝันด้วยตัวเอง

9. ตั้งเป้าหมายในการเขียนให้ชัดเจน / Establish a concrete goal.

ควรมีเป้าหมายที่เป็นรูปธรรม . . ยิ่งใช้พื้นฐานเหล่านี้นานเท่าไหร่ การเขียนก็จะยิ่งง่ายขึ้นเท่านั้น

(เป้าของ King คือวันละ 10 หน้า ซึ่งเท่ากับ 2,000 คำ)

10. เขียนทุกวัน / Show up every day.
งานของคุณคือต้องแน่ใจว่ามิวส์ (เทพเจ้าแห่งกวี) รู้ว่าคุณทำอะไร อยู่ไหนทุกวันตั้งแต่เก้าโมงถึงเที่ยงวัน ถ้าเขารู้ รับรองว่าไม่ช้าก็เร็ว เขาจะเริ่มปรากฏตัว สูบซิการ์และร่ายมนตร์ (ช่วยคุณ)

หมายเหตุ :

ส่วนตัวผมคิดว่าการเขียนสม่ำเสมอทุกวันเป็นทั้งการฝึกวินัย รักษาความต่อเนื่อง เพิ่มทักษะและผลผลิต ไม่ต่างจากอาชีพอื่น สำหรับคนที่ยึดงานเขียนเพื่อเลี้ยงชีพคงไม่ใช่เรื่องดีที่จะลางานบ่อย

อีกประเด็นที่สำคัญจะสังเกตว่า King ไม่ได้บอกว่าให้คุณเขียนทั้งวัน ในต้นฉบับเขียนไว้ว่า nine ‘til noon or seven ‘til three. ก็น่าจะแปลได้ว่าเขียนวันละ 3 ชั่วโมงหรือ 8 ชั่วโมงทำงาน จากประสบการณ์ตัวเอง ผมไม่สามารถเขียนงานดี ๆ ได้ต่อเนื่องเกิน 4 ชั่วโมง มากกว่านั้นก็มักจะคิดอะไรไม่ค่อยออกแล้ว งานเขียนแม้จะไม่ได้เป็นงานที่ใช้ร่างกายหนัก แต่ใช้พลังสมาธิและความคิดสร้างสรรค์สูงมาก ยากที่จะทำได้ทั้งวันทั้งคืน

อีกจุดสังเกตคือนักเขียน Bestseller ที่แชร์ตารางทำงานส่วนใหญ่จะเริ่มงานตอนเช้ามากกว่ากลางคืน (Stephen King, Haruki Murakami) และมีชั่วโมงการทำงานที่ใกล้เคียงกัน (6-8 ชั่วโมงต่อวัน ไม่เกินสำหรับการเขียน)

หวังว่า 10 ไอเดียนี้จะทำให้คุณได้เห็นความคิดของนักเขียน Best seller และต่อยอดเป็นวิธีสร้างงานเขียนในแบบของคุณนะครับ

ที่มา : Flickr

Source :
On Wrting, Stephen King
https://stephenking.com/


https://thewritelife.com/stephen-king-quotes-writing-advice/
  • Share:
วิฑูรย์ สูงกิจบูลย์ (เซนเซแป๊ะ)
วิฑูรย์ สูงกิจบูลย์ (เซนเซแป๊ะ)

• วิทยากรและนักพูดสร้างแรงบันดาลใจ ที่มีงานบรรยาย มากกว่า 200 รุ่น ในรอบ 3 ปี ส่งมอบความรู้ให้คนไทยมากกว่า 5,000 คน
• อดีตผู้จัดการหน่วยวิจัยและพัฒนาระดับประเทศที่มีประสบการณ์ทำงานที่ประเทศญี่ปุ่น 2 ปี
• Founder “เพจสรุปให้” เพจที่มีคน ติดตามกว่า 390,000 คน
• ผลงานด้านนักเขียน Best Seller 3 เล่ม

Previous post

คำสุดท้ายที่ควรพูดก่อนตาย
1 พฤษภาคม 2023

Next post

ความแตกต่างระหว่างหนังสือดีกับหนังสือ Bestseller
25 พฤษภาคม 2023

You may also like

8 คุณสมบัติของหนังสือขายดี
15 มกราคม, 2024

1. เนื้อหาต้องดี : วิธีประเมิน คือ อ่านจ …

งานแบบไหนตกงานยาก
15 มกราคม, 2024

งานแบบไหนตกงานยาก เห็นข่าว Lazada ปลดพนั …

วิธีอ่านหนังสือให้สนุกกว่าเดิม 4 เท่า
8 มกราคม, 2024

เปิดปีใหม่มางานสำนักพิมพ์ก็เริ่มเข้า ทั้ …

Leave A Reply ยกเลิกการตอบ

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Categories

  • Podcast
  • การเงิน
  • บทความ
  • บทความ
  • เขียนได้ขายดี


เซนเซแป๊ะ วิทยากรและนักพูดสร้างแรงบันดาลใจ ที่มีงานบรรยาย มากกว่า 500 รุ่น ในรอบ 5 ปี ส่งมอบความรู้ให้คนไทยมากกว่า 5,000 คน


คอร์สออนไลน์

  • S2 : Turn How To Make Japanese Style presentation
  • S11 : Super Productive Communication Tools
  • S24 : Japanese Time Management Mastery
  • S8 คอร์ส Story Telling with Data อย่าเป็นคนเก่งที่เล่าเรื่องไม่เป็น
  • S3+: Build Page 100,000 Likes
  • S21 : Master of Productivity

ติดต่อเรา

icon_FB
senseipae
icon_Line
@senseipae
icon_youtube
senseipae
icon_Email

senseipae@gmail.com
(จันทร์-ศุกร์ เวลา 9.00-17.30 น.)


เซนเซแป๊ะ วิทยากรและนักพูดสร้างแรงบันดาลใจ ที่มีงานบรรยาย มากกว่า 500 รุ่น ในรอบ 5 ปี ส่งมอบความรู้ให้คนไทยมากกว่า 5,000 คน

คอร์สออนไลน์

  • Super Productive Communication Tools
  • Management Mastery

ติดต่อเรา

icon_FB
senseipae
icon_Line
@senseipae
icon_youtube
senseipae
icon_Email

senseipae@gmail.com
(จันทร์-ศุกร์ เวลา 9.00-17.30 น.)

© Powered by senseipae. 2022

Back to top